Vana Vana VanaWe

ศิลปินแอล.ดี ที่ได้ “มังงะ” ช่วยเรื่องการอ่าน

คุณวีรยา อภิพัฒนา (วี)  จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ แม้จะขาดความถนัดในการสื่อสารผ่าน การเขียน ตามลักษณะของผู้ที่มีภาวะ Learning Disorder (LD) แต่คุณวีรยามีความโดดเด่นในทักษะทางศิลปะที่หลากหลายตั้งแต่เล็กๆ เธอเขียนการ์ดอวยพรวันพ่อเป็นกลอนไม่ได้แน่ แต่เธอเล่าภาพของคุณพ่อออกมาเป็นการ์ตูนช่องๆ การสะกดคำศัพท์เป็นเรื่องยาก แต่เธอเข้าใจและอธิบายความหมายของคำได้ถูกต้องผ่านการวาดภาพประกอบใต้คำศัพท์ สิ่งที่เธอถนัดและอยากเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะคือ มังงะ (Manga) แต่จังหวะที่เธอกำลังตัดสินใจเรียนต่อนั้น ประเทศญี่ปุ่นประสบภัยธรรมชาติ สึนามิ ทำให้โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์มีปัญหาซึ่งส่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง ประกอบกับครอบครัวมีความห่วงใยบรรยากาศการเรียนในญี่ปุ่นซึ่งมีภาวะการแข่งขันและความเครียดสูง จึงทำให้เส้นทางของเธอต้องเบนไปสู่  คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม

Vana Vana VanaWe 9

ต้องวาดในกรอบ

คุณวีรยา : ตอนเข้าไปเรียน (คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์) หนูไม่เคยเรียนศิลปะพื้นฐานมาก่อน ก็คิดว่าน่าจะมีปัญหานิดหน่อย เรียนไม่กี่สัปดาห์ก็ต้องขึ้นงานชิ้นใหม่ มันไม่ยาก แต่เหนื่อย เพราะพูดกับอาจารย์ไม่ค่อยได้ บางครั้งวาดให้เหมือนไม่ค่อยได้ เขาว่ามันดูเป็นการ์ตูน คือ ภาพประกอบนิยายกับงานศิลปะทั่วไป มันต่างกันตรงไหน ?

ภาพหนูเหมือนการ์ตูน

หนูก็มีสไตล์ของตัวเองจะให้หันไปวาดแนวอื่นก็คงไม่ได้แล้ว

อาจารย์ก็คงมีสไตล์ไม่เหมือนหนู

แต่หนูก็เถียงใครไม่เป็นอยู่แล้ว ก็เลยเงียบไปนั่นแหละ

ช่วงปีแรกๆ งานเยอะ บางทีได้หัวข้องานที่ไม่ถนัด หัวข้อเมือง หนูวาดไม่เป็นอ่ะ เลยวาดแบบง่ายๆ เป็นแสงสีในเมือง ใช้สีสะท้อนแสงมาลงจุดๆ ลายๆ บนผ้าดำ ผ่านมาแบบ..ประมาณนั้นเลยจริงๆ ต้องวาดหลายๆ อัน ต้องทำงานซ้ำๆ เป็นแบบนี้บ่อย แต่ที่ยากที่สุดคือ ศิลปะนิพนธ์

ตอนทำเล่มจบธีสิส (Thesis) จะเขียนเนื้อหายังไงดี หนูไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมต้องมีศิลปินแบบอย่างก็ที่เราทำน่ะมันเป็นแบบของเราเองหมดเลย จะให้มีแบบอย่างไว้ทำไม ตรงนั้นคิดว่าไม่จำเป็นเท่าไหร่เลย ต้องมีศิลปินตัวอย่างหนึ่งคน เป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่ศิลปินไม่ได้หรือ?  บางทีหนูก็วาดของที่ชอบก็แค่นั้นเห็นอะไรก็วาดจะว่าเอามาจากศิลปินโดยตรงเลยก็ไม่ใช่ เพราะหนูก็ดัดแปลงวาดให้เป็นตัวเอง

Vana Vana VanaWe 10

แล้วศิลปะคืออะไร ?

เอาจริงๆ ความหมายมันไม่ตายตัวมันมีหลายอย่างมากตามที่เรียนมาแนวที่คนไม่เข้าใจก็มีในความเห็นหนู

“ศิลปะ คือ รูปธรรมที่เกิดจากความคิด”

เรื่องที่แต่ง นิยาย หนูก็คิดว่าเป็นศิลปะ

พื้นฐานที่สำคัญในการทำงานศิลปะคืออะไร ?

คุณวีรยา : เรื่องเรียนหนูไม่แน่ใจว่าสำคัญไหม อย่างหนูวาดการ์ตูน หนูไม่เคยเรียน วาดเองมาตลอด เรียนรู้มานิดหน่อย แล้วเราก็ไปปรับให้เป็นสไตล์ของเราเอง

สำหรับการทำงานศิลปะพ่อแม่หนูไม่เคยค้าน ให้เราได้ลองทุกอย่าง ถ้าใครสนใจอะไร หนูคิดว่าก็มุ่งไปเลย เรียนไปเลย ไม่ต้องเดี๋ยวก่อน ถ้ามันไม่โอเค ก็ไปลองอย่างอื่น อย่างหนูก็ชอบและทำอะไรได้หลายอย่าง มันเพิ่มประสบการณ์ ลอง… อยากทำอะไรก็ทำ ยังไม่ต้องจริงจัง แค่ทำให้สนุกก่อน แล้วจะคล้อยตามกับมันเอง

Vana Vana VanaWe 11

มังงะVana Vana VanaWe

คุณวีรยา : จุดเริ่มต้นที่ชอบมังงะ คือตอน ป.4 เริ่มอ่านหนังสือได้แบบลึกซึ้ง คือ

จริงๆ หนูอ่านหนังสือไม่ค่อยได้

มังงะมันช่วยเรื่องการอ่าน จากนั้นทำให้หนูอ่านนิยายจบได้ในวันเดียวล่ะ

หนูชอบอ่านแนวตลก จริงๆ มีแนวเรื่องอยู่ในหัว แต่ยังไมไ่ด้วาด หนูอยากมีหนังสือเป็นของตัวเอง แบบ wan wan (นักเขียนการ์ตูนชาวไต้หวัน)

Vana Vana VanaWe 12

อนาคตของ VanaWe

คุณวีรยา : หนูสร้างงานแบบอยากทำอะไรก็ทำเลย ถ้ามีงานตามสั่งหนูมักลืมและทำอะไรยาวๆ ไม่ค่อยได้ อยากลองทำการ์ตูนเป็นเรื่องราวยาวๆ แต่ไม่ได้ซักที (ต้องมีตัวช่วยอะไรไหมคะ)  ไม่แน่ใจบอกยาก (ต้องการการช่วยจัดการไหม? ) หนูก็กึ่งๆ หนูบอกไม่ถูก

อยากให้ตัวเอง มีอารมณ์ทำงานเยอะขึ้น อยากให้ตัวเอง ง่วงน้อยลง

Vana Vana VanaWe 13Vana Vana VanaWe 14Vana Vana VanaWe 15Vana Vana VanaWe 16

Beam Talks ขอเชิญติดตามและเป็นกำลังใจให้คุณวีรยาให้มีผลงานนิยายมังงะในเร็ววัน และล่าสุดเธอกำลังฝึกฝนและสะสมผลงานปั้นขนาดจิ๋วซึ่งน่าจะพัฒนาเป็นของเล่นออกมาวางขายได้ในอนาคต

 

ขอขอบคุณ  : คุณวีรยา และครอบครัวอภิพัฒนา

ถ่ายภาพโดย : ศุภจิต สิงหพงษ์


Beam Talks คือ ความตั้งใจสร้างพื้นที่ส่องแสงศักยภาพของบุคคลที่มีความต้องการพิเศษและครอบครัว ผ่านการสื่อสารออนไลน์ ซึ่งเป็นหนึ่งใน โครงการนักสื่อสารสร้างสรรค์บันดาลใจ : สื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ภายใต้แผนงาน สื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ

แอดมิน - ลูกบัว

ด.ญ. อริสา ภิรมย์รัตน์ ตำแหน่ง: เวบแอดมิน หน้าที่: สร้างหน้าบทความ โอนย้ายข้อมูล และตกแต่งรูปภาพบทความต่างๆ

Beam Talks คือ ความตั้งใจสร้างพื้นที่ส่องแสงศักยภาพของบุคคลที่มีความต้องการพิเศษและครอบครัว ผ่านการสื่อสารออนไลน์ ซึ่งเป็นหนึ่งใน โครงการนักสื่อสารสร้างสรรค์บันดาลใจ : สื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้แผนงาน สื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ (ม.ค.-ส.ค.2561)

ดำเนินงานโดย นรรณ วงศ์พัวพันธุ์
ผู้ก่อตั้ง Special Plaza มีความสุขเป็นพิเศษ และ
บรรณาธิการบริหาร Beam Talks Magazine
ติดต่อ : BeamTalkTeam@gmail.com
สงวนลิขสิทธิ์ © specialplaza.co

สมัครสมาชิก