New’s Art Dimension

ศิลปินที่มีอารมณ์ขันและตัวตนชัดเจน

คุณธีรัช อภิพัฒนา (นิว)

ผมเรียนจบมาทางด้านเซรามิค คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ งานที่ถนัดหรือใช้ฝึกมือตอนนี้ก็ วาดรูป ส่วนงานปั้นเซรามิคกำลังสะสมงานชุดบอนไซจิ๋ว การออกแบบผมมักเลือกสัตว์ที่เกี่ยวใกล้เคียงกับต้นไม้ เช่น ต้นหนวดปลาดุก มีชุดนึงผมกะจะใช้ชื่อ เขตอภัยทาน จะมีหน้าปลาดุกหลายๆ ตัว กระถางรูปหน้าปลาดุกวางไว้ใกล้ๆ น้ำ ก็กำลังคิดว่า มันต้องผลิตจำนวนมาก เอาไปทำแม่แบบดีไหม ปั้นซ้ำมากๆ มันจะเบื่อครับ

New’s Art Dimension 15New’s Art Dimension 16

งานปั้นสามมิติ มันสรุปผลงานผมได้ดีกว่า เซรามิคเหมือนรวมทุกสายของศิลปะไทย จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ เป็นได้หลายอย่างในงานเดียวกัน ก็สนุก แต่ผมไม่ถนัดโทอิ้ง (การขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน wheel throwing ) ทำถ้วย เมื่อไหร่กลายเป็นจานทุกที…

ตอนเรียนในมหาวิทยาลัย อาจจะเครียดหน่อย แต่ก็ท้าทายครับ หาแนวทางแปลกใหม่ มานำเสนออาจารย์ เอนจอยดีครับ จะเครียดตอนที่กำลังเคลือบงานและงานตกนี่แหละครับ อันนั้นเซ็งได้อย่างเดียว…

เพื่อนบางคนจบไปก่อน บางคนก็ยังไม่จบ ไอเดียนำเสนอไม่ผ่านปีสามมาหลายปีแล้ว เรื่องนำเสนองาน ผมไม่มีปัญหาครับ มีปัญหาแค่อาจารย์เขาไม่ชอบเฉยๆ ก็เลยไม่ให้ผ่าน ต้องทำซ้ำ (เบื่อไหม?)  เบื่อ (หัวเราะ).

New’s Art Dimension 17New’s Art Dimension 18New’s Art Dimension 19New’s Art Dimension 20

ในปี 2561 นี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจะจัดงานเทศกาลว่าวนานาชาติ (Thailand Kite Festival 2018) ขึ้นที่ จ.สตูล และ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งคุณธีรัชมีโอกาสเตรียมผลงานเพ้นท์ว่าวสายหรือว่าวรุ้ง เพื่อร่วมการจัดนิทรรศการศิลปะบนท้องฟ้าครั้งนี้ด้วย

ว่าวรุ้งหนึ่งสายเกิดจากการนำว่าวจำนวน 50ตัว ผูกต่อกันด้วยพู่เรียงว่าวเป็นแถว การนำขึ้นจะมีผู้ถือถือปลายคนละข้าง เมื่อลมพัดคนถือทั้งสองปลายจะเดินเข้าหากัน สายว่าวจะย่นและโค้งเหมือนรุ้ง จนได้ความโค้งที่ต้องการจึงปักสมอลงดิน ว่าวสายรุ้งก็จะลอยโค้งบนท้องฟ้า ถ้ามีว่าวหลายๆ สายก็จะยิ่งสวยงาม

คุณธีรัช จะเป็นเจ้าของงานว่าวรุ้งหนึ่งสายในงานนี้ ว่าว 50 ตัว เพ้นท์วันละ 5 ตัว คือ 10 วันทำงานที่เขาวางแผนไว้ และนี่จะเป็นการนำงานศิลปะของเขาออกสู่สาธารณะเป็นครั้งแรก

New’s Art Dimension 21

การปะทะสังสรรค์ สีสันบนว่าว

คุณธีรัช : งานว่าว นี่เริ่มต้นจากที่ครูแป๊ะ (จุมพล ชินประพัฒน์ พิพิธภัณฑ์ไร้พรมแดน Self+Art) มาชวนว่าลองระบายสีว่าวดูไหม ผมคิดว่าน่าสนใจดี งานไม่ได้มีโจทย์กำหนด ปล่อยอิสระสไตล์ตัวเอง

ผมเลยเลือกใช้สีอะคริลิค กับ เกรียง สีแรกผมจะไม่เลือก เจออะไรก็ใส่เลย ส่วนสีที่สอง ผมจะดู ถ้ามันใกล้เคียงกันหรือไม่ค่อยตัดกันก็จะวางไว้ก่อน ถ้าตัดก็มาทาทับอีกที มันเป็นธรรมชาติของสีครับ ถ้ามันตัดกันจะมีริ้วของสีขึ้นดูสวยงาม ถ้ามันไม่แมทช์กัน มันจะขัดๆ ตา เวลาทำงานผมมองทีละชิ้น

(แล้วนึกภาพออกไหมคะ ว่าเวลาว่าวขึ้นไปทั้งแผง ภาพจะเป็นยังไง ? )

ผมมองไม่เห็นครับ มันไกล….

New’s Art Dimension 22New’s Art Dimension 23New’s Art Dimension 24New’s Art Dimension 25

ศักยภาพ! ขึ้นอยู่กับคุณมองแบบไหน

คุณจุมพล : ศิลปินมองงานนี้ อาจจะมองว่าเป็นงานเด็กๆ  แต่ถ้าเราอยู่ในกระบวนการรู้จักเจ้าของงานจริงๆ เราก็เห็นว่า มันเป็นคาแรคเตอร์ วิธีคิด และพัฒนาการบางอย่างของเขา ซึ่งมันไม่เหมือนคนทั่วๆ ไป

ทำไมเขาถึงคิดถึงและจับคู่สีแบบนี้ สีอยู่ด้วยกันแบบสมบูรณ์มาก มันเป็นการทำงานบนฐานความคิดสร้างสรรค์ แต่มันไม่ได้ถ่ายทอดเป็นสัญลักษณ์ รูปภาพ หรืออะไรที่จับต้องได้ แต่เป็นการสร้างสรรค์การทำงานกับสี คือความเป็นเขา ซึ่งมีศิลปินที่ทำงานกับสีแบบนี้มากมาย

New’s Art Dimension 26

นิว มีความเป็นศิลปินสูง สิ่งที่ทำงานยากคือมีความเป็นตัวเอง อยากทำ ก็ทำ ไม่อยากทำ ก็ไม่ทำ มีกิจวัตรหน้าจอที่ต้องพยายามเอางานอื่นมาทดแทน ซึ่งต้องให้งานที่มีความสำคัญมากพอที่เขารู้ว่าทำไปเพื่ออะไร การมีนิทรรศการ มีสตูดิโอ เมื่อทำงานของตัวเองและจัดแสดงไปแล้ว ถ้ามีคนสนใจก็มีที่ให้มาพบมาคุยด้วย ก็เป็นวิธีการสื่อสารอีกทางหนึ่ง

ซึ่งต้องออกแบบร่วมกับครอบครัว ว่าทำอย่างไรให้งานเขาไปสู่สาธารณะให้คนได้มีโอกาสเห็นงานของเขา เพื่อวันหนึ่งเขาจะรู้ว่า สิ่งที่เขาทำนี้เป็นอาชีพได้จริงๆ เพราะคุณเป็นผู้ใหญ่แล้ว คุณมีหน้าที่ มีอาชีพการงานทำ อันนี้คืออาชีพของคุณ

New’s Art Dimension 27

มิติของศิลปะในมุมมองของธีรัช

แค่ชอบในศิลปะ ไม่เอาทิฐิตัวเองไปตั้งค่าว่า ศิลปะอย่างนี้ใช้ได้ อย่างนี้ใช้ไม่ได้ ไม่ผ่าน อันนั้นเขาไม่เรียกว่าศิลปะ ศิลปะมากจากใจ ไม่ใช่ความคิด ถ้ามาจากความคิด พอคิดต่างไม่มองความคิดของคนอื่น เขาไม่เรียกว่าศิลปะ มันคือทิฐิ ไม่ใช่ศิลปะที่แท้จริง

ศิลปะ คือ ใจ สังคม และ ธรรมชาติ (สิ่งที่มีอยู่ของแต่ละศิลปิน)

คุณค่าของศิลปะ ขึ้นอยู่กับใจของทั้งสองฝ่าย

เป็นการสื่อสารจาก ‘ใจถึงใจ’ ของ ผู้สร้างไปถึงผู้รับ

New’s Art Dimension 28

อ่านเพิ่มเติม สิ่งที่เราทำได้ดีที่สุดคือ ให้ลูกรู้จักตัวเอง : คุณประภา อภิพัฒนา


ขอขอบคุณ : คุณธีรัช และครอบครัวอภิพัฒนา คุณจุมพล ชินะประพัฒน์ Self+Art Borderless Art Museum

ถ่ายภาพโดย : ศุภจิต สิงหพงษ์


Beam Talks คือ ความตั้งใจสร้างพื้นที่ส่องแสงศักยภาพของบุคคลที่มีความต้องการพิเศษและครอบครัว ผ่านการสื่อสารออนไลน์ ซึ่งเป็นหนึ่งใน โครงการนักสื่อสารสร้างสรรค์บันดาลใจ : สื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ภายใต้แผนงาน สื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ

แอดมิน - ลูกบัว

ด.ญ. อริสา ภิรมย์รัตน์ ตำแหน่ง: เวบแอดมิน หน้าที่: สร้างหน้าบทความ โอนย้ายข้อมูล และตกแต่งรูปภาพบทความต่างๆ

Beam Talks คือ ความตั้งใจสร้างพื้นที่ส่องแสงศักยภาพของบุคคลที่มีความต้องการพิเศษและครอบครัว ผ่านการสื่อสารออนไลน์ ซึ่งเป็นหนึ่งใน โครงการนักสื่อสารสร้างสรรค์บันดาลใจ : สื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้แผนงาน สื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ (ม.ค.-ส.ค.2561)

ดำเนินงานโดย นรรณ วงศ์พัวพันธุ์
ผู้ก่อตั้ง Special Plaza มีความสุขเป็นพิเศษ และ
บรรณาธิการบริหาร Beam Talks Magazine
ติดต่อ : BeamTalkTeam@gmail.com
สงวนลิขสิทธิ์ © specialplaza.co

สมัครสมาชิก